นักวิชาการเตือนการใช้ยาปฏิชีวนะต้านแบคทีเรีย “โคลิสติน” จากฟาร์มหมู ส่งผลเชื้อดื้อยา เกิดการ “ปนเปื้อน” จากเล้าหมูออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะและดินในพื้นที่ใกล้เคียง
หลังพบข้อมูลว่า วงการแพทย์สหรัฐอเมริกา พบยีนแบคทีเรียดื้อยาสายพันธุ์ใหม่ ที่เคยปรากฏมาก่อน โดยเป็นลักษณะการดื้อยาต้านแบคทีเรีย “โคลิสติน” ซึ่งมีข้อมูลด้วยว่า มีการใช้ยาชนิดนี้ผสมในอาหารให้หมูในฟาร์มเลี้ยงหมูกิน รวมถึงมีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงหมูอีกหลายชนิด ากกรณีที่มีรายงานการพบเชื้อดื้อยาสายพันธุ์ใหม่ “เอ็มซีอาร์-วัน”(MCR-1) ซึ่งเป็นลักษณะยีนดื้อยาแบคทีเรียสายพันธุ์รุนแรง แม้แต่ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านแบคทีเรีย “โคลิสติน”ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุดยังใช้ไม่ได้ผล ต้องใช้ยาหลายตัวผสมผสานกัน จากข้อมูลดังกล่าวทำให้มีการรายงานว่า ในฟาร์มเลี้ยงหมูทั่วประเทศของไทย ส่วนใหญ่ใช้ยาอันตรายหลายชนิด ผสมในอาหารให้หมูกิน เพื่อป้องกันและรักษาหมูติดโรคท้องร่วงหรือโรค อื่นๆ โดยเฉพาะ “ยาปฏิชีวนะกลุ่มโคลิสติน” ที่เป็นสาเหตุให้เกิดยีนดื้อยาสายพันธุ์ใหม่ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า นอกจากยากลุ่มโคลิสติน ยังมีการใช้ยาหลายชนิดผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงหมู เช่น ยาลดไข้ แก้ปวด และยาสเตียรอยด์ และยังมีรายงานด้วยว่า มีการใช้ยาที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในสัตว์ โดยเฉพาะยาที่มีส่วนผสมของ “โคลิสติน” (Colistin) กับ “อะม็อกซิลลิน” ผศ.ภกญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผจก.ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา บอกว่า หากมีการใช้ยาดังกล่าว และทำให้เกิดเชื้อดื้อยาโคลิสติน จากฟาร์มหมู อาจเป็นสาเหตุให้จำนวนผู้เสียชีวิตมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคตได้ โดยเฉพาะการแพร่กระจายจากเล้าหมูออกไปปะปนสู่ดิน หรือลำน้ำสาธารณะบริเวณใกล้เคียงฟาร์มหมู ขณะที่ผู้บริโภคเองก็กังวลก็เชื้อดื้อยาแบคทีเรีย ที่มาจากวงจรอาหาร เช่น ไก่ กุ้ง ปลา หมู…