เชื้อดื้อยา เรื่องไม่เล็กของเด็กยุคนี้
หนึ่งในความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะก็คือ คนส่วนใหญ่จะคิดว่ายาปฏิชีวนะเป็นยาที่ปลอดภัยมาก นอกจากจะสามารถหาซื้อรับประทานได้เองโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์แล้ว หลายคนไปไกลถึงขั้นวินิจฉัยโรคได้เองว่า ขณะนี้ตนกำลังติดเชื้ออะไรอยู่ แต่หารู้ไม่ว่า ผลกระทบที่จะตามมานั้นร้ายแรงเพียงใด หลังจากการค้นพบยาปฏิชีวนะและมีการใช้อย่างแพร่หลายในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ผ่านมาไม่เกินสองชั่วอายุคน ปี 2014 องค์การอนามัยโลกประกาศว่า โลกได้เข้าสู่ยุคที่ยาปฏิชีวนะสูญเสียคุณสมบัติในการรักษาโรคแล้ว สำหรับประเทศไทย คาดการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอยู่ที่ราว 20,000-38,000 คนต่อปี มากกว่าผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ซึ่งอยู่ที่ปีละกว่า 10,000 ราย 2-4 เท่า โดยช่วงวัยที่น่าเป็นห่วงที่สุดขณะนี้คือ เด็กและเยาวชน เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุดแล้ว ยังเป็นตัวกระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ในช่วงฤดูฝนของทุกปี มักจะเป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองต้องเป็นกังวลกับสุขภาพของเด็กๆ เพราะทั้งอาการปอดบวม ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus เป็นสาเหตุของอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ) ไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก ล้วนระบาดในช่วงนี้แทบทั้งสิ้น คำแนะนำจากกุมารแพทย์ถึงบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ ในเมื่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียไม่ได้ เราก็ต้องอยู่ด้วยกันอย่างกัลยาณมิตร ต้องรู้แน่และจำเป็นจริงๆ เท่านั้นจึงจะกินยาต้านแบคทีเรีย และไม่ควรซื้อหายาเหล่านี้มารับประทานเอง เชื้อดื้อยาในเด็ก สำหรับแนวทางการรักษาเชื้อดื้อยาในผู้ป่วยเด็ก รศ.พญ.ดร.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หนึ่งในคณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.)…